การกำกับดูแลกิจการที่ดี 
1. นโยบายเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการ

โพลีเพล็กซ์ตระหนักถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีและมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะดําเนินธุรกิจตามแนวหลักการการกํากับดูแลกิจการที่ดีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด บริษัทมีความเชื่อมั่นในการดําเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส (Transparency) ความรับผิดชอบ (Accountability) และจรรยาบรรณ (Ethical Conduct) บริษัทให้ความสําคัญในการนําระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เข้มงวดมาใช้ นอกจากนี้ยังได้กําหนดนโยบาย การบริหารความเสี่ยงต่างๆโดยให้ความสําคัญกับการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและมีจริยธรรมทางธุรกิจกับคู่ค้า ผู้ถือหุ้นและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

2. สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทเล็งเห็นความสําคัญของสิทธิที่เท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกคน และถือว่าผู้ถือหุ้นทุกคน เป็นเจ้าของบริษัทไม่ว่า จะมีสัดส่วนการถือครองหุ้นเท่าใดก็ตาม

บริษัทมีนโยบายในการรายงานความคืบหน้าของการดําเนินงานต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าโดยการรายงานโดยตรง หรือผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือโดยการให้ข้อมูล ทางเว็บไซต์ของบริษัทหลังจากที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว

ผู้ถือหุ้นจะได้รับหนังสือเชิญประชุม รวมทั้งระเบียบวาระการประชุมและข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า 21 วัน ได้เปิด โอกาสและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นให้มีส่วนร่วมในการประชุมแสดงความคิดเห็นและสอบถาม และความคิดเห็นจะถูกจดบันทึกไว้และติดตาม

นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิต่อไปนี้ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

  • การแต่งตั้งกรรมการที่ออกตามวาระและการกําหนดค่าตอบแทนกรรมการ
  • การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและการกําหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี
  • การอนุมัติจ่ายเงินปันผล
3. สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย

โพลีเพล็กซ์ให้ความสําคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่

  • พนักงาน: บริษัทเห็นว่าพนักงานของบริษัทเป็นทรัพย์สินที่ทรงคุณค่าขององค์กร มีความสําคัญยิ่งต่อความสําเร็จและการเติบโตขององค์กร บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรยากาศการทํางานที่มีคุณภาพ โดยเน้นเป็นพิเศษในเรื่องความปลอดภัย และผลตอบแทนที่เท่าเทียมและเป็นธรรม ทั้งนี้ นอกเหนือจากการให้เงินเดือนตามปกติ เงินโบนัสที่อิงผลการปฏิบัติงาน การสมทบเงินทุนสํารองเลี้ยงชีพ และเงินประกันสังคม บริษัทยังจัดให้มีผลประโยชน์อื่นๆ อีกแก่พนักงาน เช่น ค่าทํางานล่วงเวลา ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ การประกันสุขภาพ การประกันชีวิต เป็นต้น
  • คู่ค้า: โพลีเพล็กซ์มีนโยบายในการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้า เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันตามแนวทาง จริยธรรมทางธุรกิจ อีกทั้ง บริษัทให้ความสําคัญกับความสัมพันธ์ระยะยาวกับพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารซึ่งสนับสนุนด้านธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) และเงินกู้สําหรับโครงการต่างๆ หรือ เครือข่ายตัวแทนหรือผู้จัดจําหน่ายที่เข้มแข็งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งช่วยในการพัฒนาตลาดและทําให้การดําเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปด้วยความราบรื่น
  • คู่แข่ง: โพลีเพล็กซ์ดําเนินธุรกิจตามกรอบแห่งการแข่งขันที่เป็นธรรม และพยายามพัฒนาตลาดให้เติบโตเพื่อ ผลประโยชน์ร่วมกันในอุตสาหกรรม
  • เจ้าหนี้: บริษัทจะปฏิบัติตามเงื่อนไขเงินกู้และให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดําเนินงานแก่เจ้าหนี้ตามที่ร้องขอ เพื่อให้การดําเนินธุรกิจเป็นไปโดยราบรื่น
  • ลูกค้า: โพลีเพล็กซ์มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความพอใจแก่ลูกค้าโดยการรักษาความแน่นอนของคุณภาพผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่องและนําเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการผ่านการมีเครือข่ายที่กว้างขวาง มีการสนับสนุนด้านเทคนิค และบุคลากรทางการขายในทําเลประเทศที่ธุรกิจโพลีเพล็กซ์ตั้งอยู่ โพลีเพล็กซ์ประสบความสําเร็จในการนําแนวคิด 3R (การลดใช้ การใช้ซ้ำและการรีไซเคิล) แนวความคิดเกิดพร้อมกับการแก้ปัญหาอายุการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อยืนยันถึงความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อมและมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
  • ผู้ถือหุ้น: โพลีเพล็กซ์มีความมุ่งมั่นที่จะดําเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งที่จะปรับปรุง ประสิทธิภาพการดําเนินงานและเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น และมีการประเมินการลงทุนในโครงการใหม่ๆ อย่างรัดกุมเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการจะให้ผลตอบแทนที่ดีและเพิ่มคุณค่าต่อผู้ถือหุ้น
  • ชุมชน/สังคม: โพลีเพล็กซ์ตระหนักดีและใส่ใจในความปลอดภัยของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยได้เน้นการร่วมทํากิจกรรมต่างๆ ของชุมชนและสังคม รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง บริษัทได้จัดกิจกรรมเป็นระยะๆ สําหรับการบริจาคโลหิต และยังสนับสนุนให้พนักงานทุกคนเข้าร่วมในการบริจาคโลหิต นอกจากนี้บริษัทยังบริจาคเงินและสิ่งของร่วมสมทบทุนแก่องค์กรที่มีส่วนร่วมในการบริการชุมชนต่างๆ เป็นระยะๆ
4. การประชุมผู้ถือหุ้น

บริษัทจะจัดการประชุมโดยปฏิบัติต่อผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนอย่างเท่าเทียมกันและให้เป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นับแต่การออกหนังสือเชิญประชุม การออกใบมอบฉันทะสําหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ การแจกเอกสารประกอบการประชุมไปจนถึงการแจ้งวาระการประชุมให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีการดูแลให้มั่นใจว่าสถานที่และกําหนดการจัดประชุมสะดวกและมีระยะเวลาในการประชุมเพียงพอสําหรับให้ผู้ถือหุ้นซักถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจของบริษัท

5. ภาวะผู้นําและวิสัยทัศน์

คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ในการทบทวนแผนงาน วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และนโยบายหลัก โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่างๆ และมีการนําระบบ Key Result Areas (KRAs) มาใช้กับทุกหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และลําดับความสําคัญในองค์กร คณะกรรมการจะมีบทบาทสําคัญในการทบทวนผลการปฏิบัติงานตามจริงเปรียบเทียบกับงบประมาณ

6. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทมีนโยบายในการให้ผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดําเนินงานทุกด้าน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท บุคลากรทุกคนมีหน้าที่ต้องหลีกเลี่ยงการทํารายการและหรือธุรกรรมอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินแก่บริษัทและผลประโยชน์ส่วนตัวในรูปของเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้รับมอบหมายให้ติดตามและสอบทานระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ และกลต.

7. จริยธรรมธุรกิจ

โพลีเพล็กซ์ได้กําหนดจรรยาบรรณให้พนักงานทุกคน โดยเน้นการปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ความซื่อสัตย์และความ รับผิดชอบ และส่งเสริมให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานภายนอกทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมบรรษัทภิบาลที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม

8. นโยบายการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต

บริษัทยึดมั่นในมาตรฐานขั้นสูงสุดตามหลักจรรยาบรรณ ศีลธรรม และกฎหมายของการดําเนินธุรกิจ ในการรักษา มาตรฐานเหล่านี้ คณะกรรมการบริษัทได้กําหนดนโยบายการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งส่งเสริมให้พนักงานที่มีความกังวลเกี่ยวกับการกระทําที่ต้องสงสัยว่ามิชอบแสดงความกังวลได้โดยปราศจากความกลัวว่าจะถูกลงโทษหรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม นโยบายนี้มุ่งเปิดช่องทางให้พนักงานที่พบเห็นการกระทําที่ผิดหลักจรรยาบรรณ (ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) นําเรื่องสู่คณะกรรมการพิจารณาการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 4 คนซึ่งเป็นผู้บริหารหัวหน้าสายงานหลักขององค์กร และจะเป็นผู้รายงานเรื่องร้องเรียนและเบาะแสที่ได้รับต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

9. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร

ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการ 7 ท่าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

สถานะ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร กรรมการตรวจสอบ
กรรมการผู้แทนผู้ถือหุ้น 1 3 -
กรรมการอิสระ - - 3
10. การรวมหรือแยกอํานาจหน้าที่

ประธานคณะกรรมการบริษัท เป็นกรรมการอิสระและเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ส่วนกรรมการผู้จัดการ ทําหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่ บริหารรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานและมีอํานาจตามที่กําหนด โดยการตัดสินใจสําคัญใน บางเรื่องจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

11. ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบได้รับการเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติ ส่วนค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการจะกําหนด โดยคณะกรรมการบริษัทในการปฏิบัติหน้าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ค่าตอบแทนฝ่ายจัดการสามารถมีการทบทวนได้โดยผู้ถือหุ้นซึ่งอาจกําหนดนโยบายและแนวทางที่เหมาะสมเพื่อการนี้

12. การประชุมคณะกรรมการ

คณะกรรมการมีการประชุมตามปกติอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อทบทวนผลการปฏิบัติงาน ผลงานด้านการเงิน รายไตรมาส และเรื่องอื่นๆ

สำหรับปี 2566 - 2567 มีการประชุมคณะกรรมการบริษัททั้งหมด 6 ครั้ง กรรมการที่เข้าร่วมประชุมมีดังนี้

รายชื่อกรรมการ ตําแหน่ง จํานวนครั้งที่เข้าประชุม
นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ 6/6
นายชีราช อีรัช ปุณวาลา กรรมการและกรรมการตรวจสอบ 4/6
นายซันจีฟ ซาราฟ กรรมการผู้จัดการและรองประธานกรรมการ 4/6
นายรันจิต ซิงห์ กรรมการ 2/6
นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ กรรมการและกรรมการตรวจสอบ 5/6
นายอมิต ปรากาซ กรรมการผู้จัดการ 6/6
นายอิยาด มาลาส* กรรมการ 1/1
นางซาคิ ซาราฟ# กรรมการ 5/5

*การเข้าประชุมหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566
# การเข้าประชุมจนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งกรรมการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

13. คณะอนุกรรมการ

คณะกรรมการได้นำเสนอและที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการอิสระ 3 ท่าน กรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ถือหุ้นได้ กำหนดอำนาจและขอบเขตการดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ การสอบทานระบบ การควบคุมภายใน รายงานทางการเงิน รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ คณะกรรมการตรวจสอบมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และเลือกคณะกรรมการใหม่ทุก 2 ปี สำหรับปี 2566 - 2567 มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทั้งหมด 4 ครั้ง กรรมการที่เข้าร่วมประชุมมีดังนี้

รายชื่อกรรมการ ตําแหน่ง จํานวนครั้งที่เข้าประชุม
นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ 4/4
นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ กรรมการและกรรมการตรวจสอบ 3/4
นายซีราช อีรัช ปุณวาลา กรรมการและกรรมการตรวจสอบ 3/4
14. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน

คณะกรรมการบริษัททําหน้าที่ควบคุมการดําเนินงานโดยการกําหนดงบประมาณและเป้าหมายการดําเนินงานประจําปี รวมทั้งมีการทบทวนสิ่งที่ได้ดําเนินการแล้วเป็นระยะๆ โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบทําหน้าที่ดูแลการควบคุมและ การตรวจสอบภายใน และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข

15. รายงานของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัท ทั้งนี้จะมีการให้ความเห็นเกี่ยวกับผลการดําเนินงานทางการเงินเพื่อจัดพิมพ์ เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจําปี

16. ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน

บริษัทให้ความสําคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและทันเหตุการณ์ต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนโดยเข้าร่วมโครงการ บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (SET Opportunity Day) ทุกไตรมาส และการจัดประชุมนักวิเคราะห์ (Analysts Meetings) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและผลการดําเนินงานของบริษัทแก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ ตลอดจนจัดให้มีการเยี่ยมชมโรงงานสําหรับผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ และนักลงทุนที่สนใจในด้านนักลงทุนสัมพันธ์นั้น บริษัทได้พัฒนาส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ขึ้นมาในเว็บไซต์ของบริษัท นักลงทุน/นักวิเคราะห์ ยังสามารถลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัวสําหรับการติดต่อทางอีเมล์ (E-mail ID) และรับข่าวสารจากนักลงทุนสัมพันธ์ (IR alert) ทุกครั้งที่มีข้อมูลข่าวสารล่าสุดทางเว็บไซต์ของบริษัทอีกทั้งติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ จากบริษัทได้ที่โทรศัพท์หมายเลข +662 6652706-8

17. มาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในบริษัทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้บริหาร

บริษัทตระหนักถึงความจําเป็นในการกํากับดูแลการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทโดยกรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ส่วนตน กรรมการและผู้บริหารที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในของบริษัทจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทําการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงระยะเวลาตามที่กําหนดก่อนที่บริษัทจะประกาศผลการดําเนินงาน

ดังนั้นแนวปฏิบัติจึงได้กําหนดและอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท และช่วงปิดการซื้อขายตั้งแต่วันแรกที่ซื้อขายหลัง สิ้นไตรมาสจนถึง 48 ชั่วโมงหลังจากการประกาศผลการดําเนินงาน มีผลบังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหารของ PTL และพนักงานทั่วโลกทั้งหมดของ PTL และบริษัทย่อยห้ามซื้อขายหุ้นของบริษัทโดยเด็ดขาดในช่วงระยะเวลาการปิดการซื้อขายนี้